นาฬิกา

ปฏิทิน

ลูกศร

cursor

ผู้ติดตาม

friend

ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไป ตอนที่ 24..คอนตินิวอัมระบบยุคลิด และนอกระบบยุคลิด

ถ้ากางหน้าที่มีสองมิติของโต๊ะหินอ่อนตรงหน้าฉัน ฉันอาจไปจากจุดใดๆจุดหนึ่ง บนโต๊ะตัวนี้ไปยังจุดอื่น ๆ โดยเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องจากจุดหนึ่งไปยังจุด “ที่อยู่ใกล้เคียง” และทำกระบวนการนี้ซ้ำหลายครั้ง (มากๆ) หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ โดยการไปจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยไม่มี “การกระโดด” ฉันมั่นใจว่าผู้อ่านจะเข้าใจด้วยความแจ่มชัดเพียงพอที่ว่า “ที่อยู่ใกล้เคียง” และที่ว่า “การกระโดด” นั้นฉันหมายความว่าอย่างไรในที่นี้ (ถ้าเขาไม่สนใจรายละเอียดมากเกินไป) เราแสดงคุณสมบัตินี้ของหน้าที่มีสองมิติ โดยการอธิบายอันหลังเหมือนเป็นคอนตินิวอัม




ตอนนี้เราลองนึกภาพว่าไม้วัดอันเล็ก ๆ จำนวนมากมายที่มีความยาวเท่ากันถูกทำขึ้นความยาวของมันน้อย เมื่อเทียบกับมิติของแผ่นหินอ่อน เมื่อฉันพูดว่ามันมีความยาวเท่ากัน ฉันหมายความว่าเราสามารถวางอันหนึ่งบนอันอื่น ๆ ได้ โดยปลายไม่มีการเหลื่อมกัน ต่อไปเราวางไม้วัดขนาดเล็ก ๆ เหล่านี้สี่อันบนแผ่นหินอ่อน ดังนั้นมันประกอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบต่าง ๆ (รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส) ซึ่งเส้นทแยงมุมยาวเท่ากัน เพื่อให้แน่ใจว่าเส้นทแยงมุมเท่ากัน เราใช้ไม้วัด - ทดสอบขนาดเล็กให้เป็นประโยชน์ เราเพิ่มสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่คล้ายกันลงในสี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้ ซึ่งแต่ละสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีไม้วัดอันหนึ่งร่วมกันกับสี่เหลี่ยมจัตุรัสอันแรก

 
เราดำเนินการต่อไปตามแบบเดียวกันกับสี่เหลี่ยมจตุรัสเหล่านี้ แต่ละอันจนกระทั่งในที่สุด แผ่นหินอ่อนทั้งหมดถูกปูด้วยสี่เหลี่ยมจัตุรัส การจัดเป็นแบบที่ว่า แต่ละด้านของสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นของสี่เหลี่ยมจัตุรัสสองอัน และแต่ละมุม เป็นของสี่เหลี่ยมจัตุรัสสี่อัน เป็นเรื่องประหลาดอย่างที่สุดที่เราสามารถนำเรื่องนี้ไปปฏิบัติโดยไม่ได้ประสบความยากลำบากอย่างที่สุด เราจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้เท่านั้น เมื่อใดก็ตามถ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัสสามอันพบกันที่มุมๆ หนึ่ง ดังนั้นด้านสองด้านของสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่สี่ถูกวางไปแล้ว และผลลัพธ์ก็ถือว่าการจัดของด้านสองด้านของสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่เหลืออยู่ถูกกำหนดไปแล้วอย่างสมบูรณ์ แต่ตอนนี้ฉันไม่สามารถปรับสี่เหลี่ยมต่าง ๆ เพื่อให้เส้นทแยงมุมของมันสามารถเท่ากันได้อีกต่อไป ถ้ามันเท่ากันด้วยตัวมันเอง ดังนั้นนี่เป็นความกรุณาพิเศษของแผ่นหินอ่อน แสงของไม้วัดขนาดเล็ก ๆ ซึ่งฉันอาจเพียงประหลาดใจอย่างรู้สำนึกบุญคุณ เราจะต้องจำเป็นต้องพบกับความประหลาดใจเช่นนั้นจำนวนมาก ถ้าการก่อสร้างนี้จะต้องสำเร็จ

ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปอย่างราบรื่นจริง ๆ ดังนั้นฉันพูดว่า จุดต่าง ๆ ของแผ่นหินอ่อนประกอบกันขึ้นเป็นคอนตินิวอัมระบบยุคลิด เทียบกับไม้วัดขนาดเล็ก ซึ่งถูกใช้เป็น “ระยะทาง” (ช่วง -เส้น) โดยการเลือกมุมหนึ่งของสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็น “จุดกำเนิด” ฉันอาจระบุมุมอื่น ๆ ทุกมุมของสี่เหลี่ยมจัตุรัสอ้างอิงกับจุดกำเนิดนี้ได้โดยจำนวนสองจำนวน ฉันเพียงจำเป็นต้องระบุว่า ไม้วัดกี่อันที่ฉันจะต้องข้ามผ่านไปเท่านั้น เมื่อเริ่มต้นจากจุดกำเนิด ฉันทำต่อไปในทาง “ขวา” แล้วจึง “ขึ้นข้างบน” เพื่อให้ไปถึงมุมของสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่กำลังพิจารณาอยู่ ดังนั้นจำนวนสองจำนวนนี้เป็น “พิกัดคาร์ทีเซียน” ของมุมนี้ที่อ้างอิงกับ “ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน” ซึ่งถูกกำหนดโดยการจัดของไม้วัดขนาดเล็ก





โดยการใช้ประโยชน์จากการปรับแปลงดังต่อไปนี้ของการทดลองที่มีลักษณะเป็นนามธรรม เรายอมรับว่าจะต้องมีกรณีซึ่งการทดลองจะไม่ประสบความสำเร็จด้วย เราจะสมมติว่าไม้วัด “ขยายตัว” เป็นปริมาณที่เป็นสัดส่วนกับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ เราทำให้ส่วนที่อยู่ตรงกลางของแผ่นหินอ่อนร้อน แต่ไม่ใช่ส่วนของกรณีซึ่งไม้วัดขนาดเล็กของเราสองอันอาจยังคงทับกันสนิทอยู่ ที่ทุกๆ ตำแหน่งบนโต๊ะ แต่การก่อสร้างสี่เหลี่ยมจัตุรัสของเราจะต้องจำเป็นต้องเกิดผลเป็นความยุ่งเหยิง ในระหว่างการทำให้ร้อนเพราะว่าไม้วัดขนาดเล็กที่อยู่บริเวณตรงกลางของโต๊ะขยายตัว ส่วนบริเวณที่อยู่ส่วนรอบนอกไม่ขยายตัว

อ้างอิงกับไม้วัดขนาดเล็กของเรา - ที่ถูกกำหนดเป็นความยาวหนึ่งหน่วย - โต๊ะหินอ่อน ไม่ได้เป็นคอนตินิวอัมระบบยุคลิดอีกต่อไป และเราไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะกำหนดพิกัดคาร์ทีเซียน โดยตรง ด้วยความช่วยเหลือของมันอีกต่อไปด้วย เนื่องจากเราไม่อาจดำเนินการก่อสร้างตามที่กล่าวมาข้างต้นได้อีกต่อไป แต่เนื่องจากมีสิ่งอื่น ๆ ซึ่งอุณหภูมิของโต๊ะไม่ได้มีอิทธิพลด้วยวิธีการที่คล้ายกันกับไม้วัดขนาดเล็ก (หรือบางทีไม่ใช่เลย) มันเป็นไปได้มากโดยธรรมชาติที่จะรักษาทรรศนะที่ว่า แผ่นหินอ่อนเป็น “คอนตินิวอัมระบบยุคลิด” ไว้ เราอาจทำสิ่งนี้ได้ด้วยวิธีการที่น่าพอใจโดยการสร้างเงื่อนไขที่ละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับการวัดหรือการเปรียบเทียบความยาว

แต่ถ้าไม้วัดทุกประเภท (นั้นคือวัสดุทุกประเภท) จะต้องประพฤติตัวในลักษณะเดียวกัน ในเรื่องอิทธิพลของอุณหภูมิเมื่อมันอยู่บนแผ่นหินอ่อนที่ถูกทำให้ร้อนอย่าง ไม่คงที่และถ้าเราไม่มีวิธีการตรวจจับผลกระทบของอุณหภูมิอย่างอื่นนอกจาก พฤติกรรมเชิงเรขาคณิตของไม้วัดของเรา ในการทดลองที่คล้ายกับการทดลองที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น ดังนั้นแผนที่ดีที่สุดของเราจะคือการกำหนดระยะทาง อันหนึ่งกับจุดสองจุดที่อยู่บนแผ่นหินอ่อน ถ้าเราสามารถทำให้ปลายของไม้วัดของเราอันหนึ่งทับกันสนิทกับจุดสองจุดนี้ได้; เราควรจะกำหนดระยะทางนี้โดยไม่มีกระบวนการของเราที่อยู่ในระดับที่สูงที่สุดที่ไม่เจาะจงอย่างเห็นได้ชัดอย่างไรอีก? ดังนั้นวิธีการของพิกัดคาร์ทีเซียนจะต้องถูกทิ้งไปและถูกแทนโดยอีกวิธีการหนึ่ง ซึ่งไม่ได้สมมติความถูกต้องของเรขาคณิตระบบยุคลิด สำหรับตัววัตถุแข็งเกร็ง1 ผู้อ่านจะสังเกตเห็นว่าสถานการณ์ที่แสดงให้เห็นในทีนี้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่สัจพจน์ของสัมพัทธภาพชนิดทั่วไปทำให้เกิดขึ้น (ตอนที่ 23)


1 นักคณิตศาสตร์ต้องเผชิญหน้ากับ ปัญหาของเราในรูปแบบดังต่อไปนี้
ถ้าเรามีพื้นผิว (เช่น วัตถุทรงรี) อยู่ในอวกาศสาม - มิติระบบยุคลิด
ดังนั้นมีเรขาคณิตสอง - มิติสำหรับพื้นผิวนี้อยู่จริงที่มากเท่าที่จะมาก
ได้สำหรับพื้นผิวระนาบ เกาส์ให้เข้ารับผิดชอบงานเกี่ยวกับการปกิบัติ
ต่อเรขาคณิตสองมิตินี้จากหลักการแรก โดยไม่ใช้ประโยชน์จากข้อเท็จจริง
ที่ว่าพื้นผิวเป็นของคอนตินิวอัมระบบยุคลิดของสามมิติ ถ้าเรานึกภาพว่าทำ
การก่อสร้างด้วยไม้วัดแข็งเกร็งในพื้นผิว (คล้ายกับการก่อสร้างที่กล่าวไว้
ข้างต้นด้วยแผ่นหินอ่อน) เราควรจะพบว่า กฎที่ต่างกันถูกต้องสำหรับสิ่งเหล่านี้
จากสิ่งเหล่านั้นที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของเรขาคณิตเชิงระนาบในระบบยุคลิด
พื้นผิวไม่ได้เป็นคอนตินิวอัมระบบยุคลิดเทียบกับไม้วัด และเราไม่อาจกำหนด
พิกัดคาร์ทีเซียนในพื้นผิวได้ เกาส์ได้ชี้ให้เห็นหลักการตามที่ซึ่งเราสามารถปฏิบัติ
ต่อความสัมพันธ์เชิงเรขาคณิตในพื้นผิว และจึงชี้ให้เห็นเส้นทางไปสู่วิธีการ
ของรีมันน์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อ คอนตินิวอัมนอกระบบยุคลิดหลาย - มิติ
จึงเป็นว่านักคณิตศาสตร์เมื่อนานมาแล้วแก้ปัญหาที่เป็นทางการ ซึ่งสัจพจน์
ของสัมพัทธภาพชนิดทั่วไปนำเราไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องน่ารู้ต่างๆ