นาฬิกา

ปฏิทิน

ลูกศร

cursor

ผู้ติดตาม

friend

วิตามินอี (Tocopherol)

ความเป็นมา วิตามินอี เป็นอาหารที่มีประวัติการค้นพบมานานกว่าศตวรรษ จัดอยู่กลุ่มวิตามินชนิดละล่ยในไขมัน (fat soluble vitamin) มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายน้ำมัน สีเหลืองอ่อน ไม่ละลายในน้ำ ละลายได้ในสารละลายไขมัน เช่น แอลกอฮอล์ อีเทอร์ วิตามินอีมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ จึงเรียกชื่อตามความหมาย คือ Tocopherol มาจากภาษากรีก Tokos แปลว่า เด็ก (Children) และ Pheno แปลว่า ทำให้เกิด (to bear)





วิตามินอีมีมากในพืชในสัตว์พบน้อยมาก อาหารที่ให้วิตามิน ได้แก่ อาหารจำพวก ผัก น้ำมัน ไข่ เนย ข้าวบาเลย์ ข้าว ข้าวโอ๊ต แม้ว่าความต้องการวิตามินอีของมนุษย์ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่า วันหนึ่งๆ คนเราต้องการปริมาณเท่าใด จากการศึกษาค้นคว้าของโภชนาการ พบว่า วิตามินอีป้องกันการเกิดออกซิเดชัน (antioxdation) ของกรดไขมันไม่อิ่มตัว วิตามินเอ แคโรทีน และวิตามินซี วิตามินอีในอาหารมีได้หลายรูปแบบ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน ชนิดที่มีประสิทธิภาพทางชีวภาพมากที่สุด คือ แอลฟา เพื่อแสดงปริมาณที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ นักโภชนศาสตร์จึงได้เสนอให้ใช้หน่วยของวิตามินอีรวมเป็นมิลลิกรัม แทนหน่วยสากล (Intenational Unit หรือ IU) ซึ่งคำนวณได้จากปริมาณ (มก.) ของ ในอาหารและเพิ่มปริมาณอีกร้อยละ 20






วิตามินอี มักจะไปควบคู่กับวิตามินบีเสมอ ทางการแพทย์จึงเรียกว่า วิตามินพี่น้อง วิตามินอีมีส่วนช่วยป้องกันโรคโลหิตจางและอาการหลอดเลือดแข็ง ทำให้การทำงานของหัวใจและการไหลเวียนของโลหิตเป็นปกติ นอกจากนี้ยังช่วยเก็บออกซิเจน และลดคอเรสเทอรอลในโลหิต ทำให้ไม่เกิดลิ่มในหลอดเลือด (thrombosis) ซึ่งเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ง่าย จึงอาจกล่าวได้ว่า วิตามินอีเป็นยาอายุวัฒนชนิดหนึ่ง ในแง่ของชีววิทยา คนที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปี การทำงานของระบบต่างๆ จะเสื่อมลง เช่น ชีพจรเต้นช้าลง 15% โลหิตไหลผ่านไตลดลง 65% อาการเต้นของหัวใจลดลง 30% การทำงานปอดลดลง 60% การขาดวิตามินอีและการขาดออกซิเจนในโลหิต อาจเป็นสาเหตุใหญ่แห่งความชรา ผู้ที่ได้รับวิตามินอีอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่เยาว์วัยเรื่อยมา จะแก่ตัวช้าลงกว่าผู้ที่ขาดอาหารชนิดนี้



ลักษณะเด่น ความเครียดที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation stress) เรียกย่อ ๆ ว่า OS ได้กลายเป็นคำที่มีความสำคัญในวงการโภชนาการ และการแพทย์ในศตวรรษที่ 21 ไปแล้ว เนื่องจาก OS มีส่วนทำให้เกิดโรคต่างๆ นับตั้แต่ต้อกระจกไปถึงโรคมะเร็ง ซึ่งตัวการสำคัญคือ ฟรี แรดดิคัล (free redicle) ที่จะทำลายเซลล์ และเนื้อเยื่อของร่างกายอย่างมีขั้นตอน แพทย์พบว่ามีวิธีง่ายๆ แต่มีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ เช่น หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิด OS โดยภาพรวมอาหารจากธรรมชาติ อาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการผลิต อาหารเสริมจัดเป็นสารป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ดีที่สุด



สารแอนดิออกซิเดชันที่สำคัญ ช่น วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี เบตา-คาโรทีน เซเลเนียม สะงกะสี แต่สารที่แพทย์สนใจค้นคว้าอย่างจริงจัง คือวิตามินอี เนื่องจกเห็ยว่ามีคุณค่าโดยตรงเกี่ยวกับโลหิตทำให้เลือดลมดี และหัวใจทำงานปกติ ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีโทษ เหมือนเช่นยาหรือสารอื่นๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าร่างกายสามารถกำจัดออกได้ง่าย



การตรวจวิเคราะห์วิตามินอี สามารถเลือกวิเคราะห์ได้ทั้งวิธีเคมี และใช้เครื่องมือ HPLC (High Performance Liquid Chromatography) ในปัจจุบันวิธีหลังจะเป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากสามารถตรวจทานได้ แม้ในปริมาณน้อยๆ การวิเคราะห์โดย HPLC สามารถเลือกได้ทั้งใน mode ของ normal phase หรือ reversed phase ปัจจัยที่มีผลต่อ retention time ของสารคือ polarity ของ mobile phase ย่างเดียวเท่านั้น



การวิเคราะห์วิตามินอีของกลุ่มงานชีวเคมี กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
-เทคนิตที่ใช้ : High Performance Liquid Chromatography (HPLC)
-Standard solution for external calibration :
-การเตีรยมตัวอย่าง : ตัวอย่าง saponified ด้วย alcoholic potassium hydroxide ประมาณ 15 นาที แล้วแยกวิตามินอีอกด้วยอีเทอร์ ระเหยอีเทอร์ให้แห้ง ด้วย Rotary evaporator ละลายส่วนที่เหลือด้วยเมทานอล สำหรับนำไปตรวจวัดด้วยเครื่อง HPLC
*HPLC condition
-UV-detector ที่ความยาวคลื่น 292 nm.
-Staniless steel column C18, 12.5 cm length, inner diameter 4 mm
-Mobile phase : มเทานอล+น้ำ (97+3มล.)
-Flow rate 1 ml/min
-Pressure 1200-1400 psi
-Ambient temperature
-Injection volume : 20-50
-Vitamin E retention 9.8 นาที
-อัตราค่าวิเคราะห์ 1000 บาท/ตัวอย่าง




ประโยชน์ที่ได้รับ


เป็นข้อมูลโภชนาการสำหรับประชาชนทั่วไป และผู้ที่ต้องการใช้บรอการตรวจวิเคราะห์วิตามินในอาหาร







กลุ่มเป้าหมาย

-ประชาชนทั่วไป

-กลุ่มผู้ลอติอาหาร

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องน่ารู้ต่างๆ