นาฬิกา

ปฏิทิน

ลูกศร

cursor

ผู้ติดตาม

friend

ดาวซิ่ง

ดาวซิ่ง (อังกฤษ: dowsing) เป็นวิธีการพยากรณ์แบบหนึ่งที่อ้างว่าสามารถระบุตำแหน่งของแหล่งน้ำใต้ดิน โลหะหรือแร่ธาตุที่ฝังอยู่ใต้ดิน อัญมณี น้ำมัน แม้กระทั่งหลุมฝังศพ[1] โดยไม่มีการใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์มาช่วย




วัตถุแท่งรูปร่างคล้ายตัว Y หรือตัว L จะเรียกว่า แท่งดาวซิ่ง (อังกฤษ: dowsing rod) บางครั้งมีการนำมาใช้ประกอบการทำดาวซิ่งด้วย ส่วนผู้ทำนายหรือ dowser บางครั้งอาจใช้เครื่องมือลักษณะอื่น หรืออาจไม่ใช้เครื่องมือประกอบเลยก็ได้



วิธีการดาวซิ่งเริ่มปรากฏขึ้นในยุคฟื้นฟูเวทมนตร์ในเยอรมนี (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 15-16) และเป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่คนที่เลื่อมใสในลัทธิ Forteana หรือพวกที่เชื่อเรื่องรังสีในตัวมนุษย์ (radiesthesia) [2] แม้ว่าจะไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่ยอมรับวิธีการนี้ และไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ยืนยันว่ามีประสิทธิผลจริง



อุปกรณ์ดาวซิ่งยุคใหม่
มีเครื่องมือจำนวนมากที่จัดว่าเป็นแท่งดาวซิ่งแบบ "ไฮเทค" ที่เข้ามาทำการค้ากับกิจการตำรวจและการทหาร แต่ไม่มีเครื่องมือใดที่ยอมรับว่าใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผลจริง[3] อุปกรณ์ที่โดดเด่นในจำพวกนี้ได้แก่ ADE 651, Sniffex, และ GT200[4][5] ทางการสหรัฐอเมริกาได้ทำการศึกษาและออกประกาศเตือนให้ระวังการจัดซื้อ "อุปกรณ์ตรวจจับระเบิดปลอม" เมื่อปี ค.ศ. 1999[3]

ตัวอย่างอุปกรณ์:

ห้องทดลอง Sandia National Laboratories ทำการทดสอบระบบ MOLE ผลิตโดยบริษัท Global Technical ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Kent ประเทศอังกฤษ และพบว่าไม่มีประสิทธิผล[4]
ADE 651 เป็นอุปกรณ์ผลิตโดยบริษัท ATSC จากประเทศอังกฤษ มีการใช้งานแพร่หลายโดยตำรวจอิรักในการใช้ตรวจหาระเบิด[5] มีคนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้งานเครื่องมือนี้[5][6] และยืนยันว่า ADE 651 ล้มเหลวในการป้องกันเหตุระเบิดหลายครั้งในอิรัก วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553 กรรมการบริษัท ATSC คือนายจิม แมคคอร์มิค ถูกจับกุมในฐานะผู้ต้องสงสัยการฉ้อโกงโดยนำเสนอสิ่งที่ไม่เป็นความจริง[7] โดยที่ก่อนหน้านั้นรัฐบาลอังกฤษได้ประกาศห้ามการส่งออกอุปกรณ์ ADE 651[8]
SNIFFEX ปรากฏในรายงาน United States Navy Explosive Ordnance Disposal ซึ่งระบุว่า "อุปกรณ์ตรวจจับระเบิดแบบมือถือ SNIFFEX ใช้การไม่ได้"[9]
EK9 (หรือ EK-9) GT200 อุปกรณ์ตรวจจับระเบิดอีกชนิดหนึ่งที่ใช้หลักการดาวซิ่ง[10]
GT200 ได้รับการทดสอบโดยคณะกรรมการอันมีตัวแทนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เป็นแกนนำ ปรากฏผลการทดสอบ สามารถตรวจพบวัตถุที่ต้องการได้เพียง 4 ครั้ง จากการทดสอบ 20 ครั้ง อันนำไปสู่การสรุปผลการทดสอบได้ว่า อุปกรณ์ GT200 ซึ่งใช้หลักการดาวซิ่ง ไม่สามารถทำการตรวจหาวัตถุระเบิด หรือวัตถุอันตรายอื่น ได้ตามที่กล่าวอ้าง[11]

[แก้] รายชื่อนักทำนายที่มีชื่อเสียง
ชื่อนักทำนายหรือดาวเซอร์จำนวนหนึ่งที่เป็นที่รู้จักดี มีดังนี้

Karl Spiesberger
Ludwig Straniak
A. Frank Glahn
J. Francis Hitching
Hellmut Wolff
Uri Geller
Thomas Charles Lethbridge


อ้างอิง
^ Kenney, Andrew. The Herald (Johnson County, North Carolina); "Grave Hunters." http://www.theherald-nc.com/front/story/10836.html; 29 July 2009, page 1. Article also reproduced as a source document at WeRelate.
^ จากการแปลความในบทนำเรื่องของบันทึกการทดลองของ Kassel "มีนักดาวเซอร์ประมาณ 10,000 คนเฉพาะในเยอรมนี สามารถทำรายได้ต่อปีมากกว่า 100 ล้านดอยช์มาร์ค (ประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ)" GWUP-Psi-Tests 2004: Keine Million Dollar für PSI-Fähigkeiten (in German) and English version.
^ 3.0 3.1 Guide for the Selection of Commercial Explosives Detection Systems for Law Enforcement Applications (NIJ Guide 100-99), Chapter 7. WARNING: DO NOT BUY BOGUS EXPLOSIVES DETECTION EQUIPMENT
^ 4.0 4.1 Double-Blind Field Evaluation of the MOLE Programmable Detection System, Sandia National Laboratories
^ 5.0 5.1 5.2 Iraq Swears by Bomb Detector U.S. Sees as Useless
^ A Direct, Specific, Challenge From James Randi and the JREF
^ http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/8476381.stm
^ http://news.bbc.co.uk/2/hi/programmes/newsnight/8475875.stm
^ Test Report: The detection capabilities of the SNIFFEX explosive detector, p.8
^ http://www.e-k9.net/gt200main.php
^ ข่าวประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553, กระทรวงวิทย์ฯสวนทบ.เตรียมเปิดผลทดสอบจีที200วันที่23ก.พ.นี้, http://www.posttoday.com/
^ Tom Lethbridge's dowsing measurments

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องน่ารู้ต่างๆ