นาฬิกา

ปฏิทิน

ลูกศร

cursor

ผู้ติดตาม

friend

สวนสวยบนหลังคา

หากคุณขึ้นไปอยู่บนตึกที่สูงที่สุดของเมืองเมืองหนึ่งแล้วมองลงมา ณ เบื้องล่าง ภาพที่เห็นคือสวนสวยปกคลุ่มทั่วไปทั้งเมือง เป็นไปได้อย่างไรกัน ภาพหลังคาที่ดูแข็งกระด้างรกสายตาหายไปไหน

จะเป็นไปได้ไหม ที่เราจะสร้างเมืองที่ว่านี้ขึ้นมา เมืองที่เนรมิตพื้นที่ไร้ค่าบนหลังคา ให้เป็นสีเขียวด้วยต้นไม้นานาชนิด ใช่เเล้ว เรากำลังพูดถึงโครงการ green roof หรือ หลังคาเขียว ที่เป็นกระแสหนึ่งในการเยี่ยวยาสิ่งเเวดล้อม และการประหยัดพลังงาน

green roof หรือ หลังคาเขียว หากแปลเอาตรงตัว มันก็คือสวนบนหลังคานั่นเอง อาจเป็นที่ถกเถียงกันว่า หมายถึงหลังคาประเภทไหนกันแน่ ไม่ว่าจะเป็น หลังคาที่ใช้เทคโลโลยี “เขียว” บางรูปแบบ เช่นแผงผลิตไฟฟ้าจากพลังสุริยะ หลังคานิเวศ (eco-roofs) หลังคามีชีวิต (living roofs)ที่เป็นการปลูกต้นไม้บนหลังคา หรือต้นไม้ที่ปลูกในกระถางอิสระจะนับเป็น “หลังคาเขียว”ด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หลังคาเขียวในที่นี้ หลักๆจึงดูที่เป้าหมายให้ไปในทางที่ว่า เป็นหลังคาที่ถูกปิดทับบางส่วนหรือทั้ง หมดด้วยพืชและดิน หรือเครื่องปลูกอย่างอื่น เป็นการเปลี่ยนหลังคาให้เป็นสวน มีพื้นที่รองรับและเก็บกักน้ำที่สามารถทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ ไม่ใช่เพียงการยกกระถางต้นไม่ไปวางเท่านั้น

แต่ที่แน่ๆ Green Roof ไม่ได้หมายถึงหลังคาที่ทาด้วยสีเขียวแต่อย่างใด

Green Roof ไม่ใช่เรื่องใหม่ ลองย้อนไปไกลถึงสมัย 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ก็จะทำให้เรานึกถึงสวนลอยบาบิโลนขึ้นมา หรือบ้านแบบโบราณที่สร้างด้วยดิน หิน ไม้ซุง ก็จะพบบรรดาหญ้าหรือต้นไม้เล็กๆ เกิดขึ้น มาในยุคไม่กี่สิบปีมานี้การปลูกต้นไม้บนหลังคาก็พบได้ทั่วไปตามสถานที่ทั่วโลก เช่น หมู่บ้านในเขตทุ่งหญ้าแพรรี่ในสหรัฐ ดาดฟ้าของศาลาว่าการนครชิคาโก หลังคาโรงพยาบาลในเมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอแลนด์ หลังคาบ้านในเยอรมันนี เป็นต้น








แต่ Green Roof ยุคใหม่ ไม่มองเพียงแค่ความสวยงามเท่านั้น ในเชิงวิทยาศาสตร์ รวมทั้งในเชิงสถาปัตยกรรม ของบรรดานักวิจัย สถาปนิก ช่างก่อสร้าง รวมถึงนักวางผังเมือง ให้ความสนใจที่สร้างหลังคาเขียวเพื่อประโยชน์ที่หลากหลายขึ้น ทั้งลดอุณภูมิความร้อนที่ส่องผ่านหลังคาลงมาในตัวอาคาร ควบคุมระบบระบายน้ำที่เป็นปัญญาของหลังคาตึกแบบเก่า บรรเทาปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "เกาะความร้อน (urban heat island effect)"

แต่การสร้างหลังคาเขียวให้มีประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม ความคุ้มค่าในการลงทุน การดูแลและก่อสร้างที่ง่ายเป็นมาตรฐานที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เหล่านี้ไม่ใช่โจทย์ที่ง่ายเท่าใดนัก ทั้งในเรื่องการออกแบบให้สามารถเก็บกักน้ำสำหรับเพาะปลูก การเลือกพืชที่ดูแลง่ายและราคาไม่แพง การระบายน้ำ การออกแบบอาคารให้สามารถรองรับน้ำหนักและ วัสดุที่จะต้องป้องกันการชอนไชของรากพืช การออกแบบวัสดุปลูกที่คล้ายดินแต่มีน้ำหนักที่เบากว่า เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ






อย่างแรก เราควรทำความรู้จักกับประเภทของGreen Roof เสียก่อนหากแบ่งตามการใช้งาน จะแบ่งได้ 3 แบบ คือ

หลังคาเขียวที่มีประโยชน์ใช้สอย (intensive green roof) สามารถปลูกพืชทั้งชนิดเล็กและชนิดใหญ่ได้จริงๆและทำกิจกรรมต่างๆได้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีชั้นของดินที่หนามากพอ อยู่ที่ราวๆ 30 ซม. ขึ้นไป และแน่นอนว่าการก่อสร้างที่ต้องรองรับน้ำหนักขนาดนี้ย่อมมีค่าใช้จ่ายที่สูงเอาการ

ส่วนอีกแบบก็ คือหลังคาเขียวที่ไม่มีประโยชน์ใช้สอย (extensive green roof)หลังคาประเภทนี้เน้นประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อม จะปลูกเพียงพืชเล็กๆ ชนิดคลุมดิน ลำต้นเตี้ยๆ ทำให้การออกแบบการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารไม่ใช่เรื่องยุ่งยากหรืออาจไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอะไรเลย ก่อสร้างไม่ยาก ดูแลรักษาง่าย ราคาต่ำ








หรือหากแบ่งตามรูปแบบการดูแลก็แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

แบบแรกเป็นแบบดูแล (intensive) จะเป็นแบบที่มีชั้นของดินลึกมากพอที่จะปลูกต้นไม้ใหญ่ และหลากหลายได้ ซึ่งต้องการการดูแลรักษารดน้ำใส่ปุ๋ยที่มากเพียงพอ

หรือแบบกึ่งดูแล (semi-intensive) ก็จะต้องดูแลใส่ใจบ้าง แต่ไม่มากเท่าแบบแรก
และสุดท้ายแบบปล่อย(extensive) พืชที่ปลูกจะเป็นชนิดที่ไม่ต้องการการดูแลรักษาเท่าไหร่นัก มีความทนทาน เลี้ยงง่าย เพียงแค่นานๆ ทีแวะมาดูความเรียบร้อย ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืชบ้างเท่านั้น โดยพืชที่นิยม คือ พืชในตระกูลซีดัม (Sedum sp.) หรือ ประเภทที่อวบน้ำและมอสสามารถขึ้นได้ดี








ส่วนประกอบต่างๆของ green roof แบบextensive






เริ่มที่ชั้นล่างสุดที่ระบบกันซึม ก็คือวัสดุกันซึมของหลังคาโดยทั่วไปโดยมีฉนวนแยกส่วนของหลังคาอาคารกับหลังคาเขียว เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการรั่วซึมของอาคาร

ชั้นต่อมา คือ ฉนวนป้องกันการเจาะของราก อาจจะเป็นแผ่น PVC, แผ่นวัสดุสังเคราะห์ หรือแผ่นยาง ก็ใช้ได้

ต่อที่ชั้นการระบายน้ำ จะมีการกักเก็บน้ำฝนไว้ยังที่รองรับเพื่อไว้ใช้หล่อเลี้ยงการเจริญเติบโตของพืช ชั้นนี้ทำให้น้ำฝนที่ตกลงมาไม่ไหลบ่าลงจากอาคารสู่ท้องถนนทั้งหมดอย่างรวดเร็ว แต่มันจะถูกดูดซับ และชะลอความเร็วของกระเเสน้ำ มักใช้พลาสติดที่มีนำหนักเบา หรือวัสดุธรรมชาติอย่างหินพัมมิชที่มีรูพรุน น้ำหนักเบา แต่ก็หายากและราคราแพง ชั้นนี้จะต้องออกแบบให้มีการระบายน้ำที่ดี สามารถรองรับการเจริญเติบโตของพืชได้

ถัดมาที่ชั้นของวัสดุป้องกันดิน จะคอยกั้นไม่ให้ดินไหลลงไปในชั้นล่างตามน้ำ

ขึ้นมาถึงชั้นวัสดุปลูก สามารถเลือกให้เหมาะสมกับต้นไม้ที่จะนำมาปลูก หรืองบประมาณที่มี โดยวัสดุปลูกนี้ มักจะมีการพัฒนาและเลือกชนิดที่มีน้ำหนักเบา เพราะดินตามธรรมชาติจะมีน้ำหนักมากเกินไปโดยเฉพาะยามที่อุ้มน้ำ

และสุดท้ายพืชในชั้นบนสุด เลือกให้เหมาะสมกับท้องถิ่นในแง่ของสภาพดินฟ้าอากาศ และโครงสร้างของหลังคาเขียว อาจจะเป็นพืชที่สามารถดูดซับน้ำได้ดี ดูแลง่าย ไม่โตเร็ว หรือใหญ่โตเกินไป










ช่วยลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวอาคาร โดยผ่านมาทางหลังคา ซึ่งช่วยลดพลังงานในการเปิดเครื่องปรับอากาศในอาคารได้ถึง 20-40 % แม้ในระยะแรก โครงสร้างของหลังคาเขียวจะมีต้นทุนสูงขึ้นจากแบบทั่วไป แต่ในระยะยาว การประหยัดจากการลดใช้พลังงานก็จะเกิดความคุ้มค่า

ยืดอายุใช้งานของหลังคา ทำให้อาคารไม่ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง พืชจะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดที่ส่องลงมายังหลังคา

ลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (urban heat island effect) ต้นไม้บนหลังคาจะคอยดูซับความร้อนในตอนกลางวัน

ลดประมาณน้ำฝน (stormwater) ที่ไหลลงระบบสาธารณะ ซึ่งสร้างปัญญาน้ำท่วมฉับพลัน หลังคาเขียวจะทำเสมือนเป็นทุ่งหญ้าที่คอยดูดซับ ชะลอสายฝนที่ตกลงมา รวมทั้งสามารถกรองโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับน้ำฝนได้อีกด้วย

กรองมลพิษ (pollutants) และ คาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ออกจากอากาศ ด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช

เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ในเมือง (urban wilderness) บรรดาสัตว์น้อยใหญ่ไม่ว่าจะเป็นนก กระรอก ผีเสื้อ เกิดเป็นระบบนิเวศน์เล็กๆ

ปลูกไม้ผล ผักและดอกไม้ บางชนิดให้ออกดอกออกผลได้เป็นอย่างดี

เป็นพื้นที่สันทนาการ ให้ความรู้สึกเหมือนการพักผ่อนตามสวนโดยทั่วๆไป









หลายคน หลายอาคาร หลายประเทศ ได้ลงมือเปลี่ยนแปลงโลกแล้ว หากคุณคิดจะเปลี่ยน เริ่มเปลี่ยนเลยที่บนหัว เริ่มที่หัวคิด และเหนือหัวของคุณขึ้นไปที่หลังคา เพื่อร่วมสร้างหลังคาเขียว ไปด้วยกัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องน่ารู้ต่างๆ