นาฬิกา

ปฏิทิน

ลูกศร

cursor

ผู้ติดตาม

friend

1 − 2 + 3 − 4 + · · ·



ในทางคณิตศาสตร์ 1 − 2 + 3 − 4 + … เป็นอนุกรมอนันต์ ซึ่งแต่ละพจน์เป็นจำนวนเต็มบวกที่อยู่ถัดจากพจน์ก่อนหน้า โดยใส่เครื่องหมายบวกและเครื่องหมายลบสลับกัน ผลบวกใน m พจน์แรกของอนุกรมนี้สามารถเขียนได้ในรูป






อนุกรมนี้เป็นอนุกรมลู่ออก เพราะลำดับของผลบวกจำกัดพจน์ (1, -1, 2, -2, …) ไม่ลู่เข้าหาจำนวนจำกัดใด ๆ จึงไม่สามารถหาลิมิตได้ แต่มีปฏิทรรศน์จำนวนมาก ที่แสดงว่าอนุกรมนี้มีลิมิต



ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ ได้ยอมรับปฏิทรรศน์ที่แสดงว่า





การหาผลบวกดังกล่าวเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่ใน พ.ศ. 2433 เออร์เนสโต เซซาโร, เอมิลี โบเรล และนักคณิตศาสตร์คนอื่น ๆ ได้ร่วมกันพัฒนาวิธีในการนิยามผลบวกของอนุกรมลู่ออก



อนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … เป็นอนุกรมที่ใกล้เคียงกับอนุกรมแกรนดี 1 − 1 + 1 − 1 + … ออยเลอร์ได้พิจารณาอนุกรมทั้งสองว่าเป็นกรณีเฉพาะของ 1 − 2n + 3n − 4n + … งานวิจัยของเขาได้ต่อยอดไปสู่การศึกษาเรื่องปัญหาของเบเซล และสมการเชิงฟังก์ชัน ซึ่งนำไปสู่ฟังก์ชันอีตาของดิริชเลต์ และฟังก์ชันซีตาของรีมันน์



การลู่ออกของอนุกรม


การแสดงว่าอนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … เป็นอนุกรมลู่ออก สามารถสังเกตได้จากผลบวกจำกัดพจน์ของอนุกรมดังนี้[1]



1 = 1,

1 − 2 = −1,

1 − 2 + 3 = 2,

1 − 2 + 3 − 4 = −2,

1 − 2 + 3 − 4 + 5 = 3,

1 − 2 + 3 − 4 + 5 − 6 = −3,



ลำดับดังกล่าวประกอบด้วยจำนวนเต็มบวกทุกตัวยกเว้นศูนย์ จึงสามารถสร้างเซต ของจำนวนเต็มขึ้นมาจากลำดับดังกล่าวได้[2] และจะเห็นว่าลำดับดังกล่าวไม่ได้ลู่เข้าหาค่าคงที่ใด ๆ ดังนั้น อนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … เป็นอนุกรมลู่ออก



[แก้] การหาผลบวกของอนุกรม

ถึงแม้ว่าอนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … จะเป็นอนุกรมลู่ออก แต่เมื่อให้ s = 1 − 2 + 3 − 4 + … จะสามารถสร้างปฏิทรรศน์ที่แสดงว่า s = 1⁄4 ได้ดังนี้[3]









แผนภาพแสดงการพิสูจน์ว่า 1 − 2 + 3 − 4 + … = 1⁄4จึงได้ว่า 1 − 2 + 3 − 4 + … = 1⁄4 ถึงแม้ในความเป็นจริง เราจะไม่สามารถหาผลบวกของอนุกรมดังกล่าวได้ แต่ผลบวกที่ได้มาจากปฏิทรรศน์ต่าง ๆ จะถือว่าเป็นผลบวกที่นิยามขึ้นสำหรับอนุกรมลู่ออก ซึ่งมีวิธีหาผลบวกเหล่านี้หลายวิธี อย่างไรก็ตาม วิธีการพิสูจน์ข้างต้นได้แสดงถึงความสัมพันธ์ของอนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … และอนุกรมแกรนดี 1 - 1 + 1 - 1 + … ดังนี้





ซึ่งนำไปสู่ปฏิทรรศน์ที่แสดงว่า 1 - 1 + 1 - 1 + … = 1⁄2




[แก้] ผลคูณโคชี

ใน พ.ศ. 2434 เออร์เนสโต เซซาโร ได้เสนอแนวคิดที่ว่า 1 − 2 + 3 − 4 + … เกิดจากผลคูณโคชีของ 1 - 1 + 1 - 1 + … กับ 1 - 1 + 1 - 1 + …



ผลคูณโคชีสามารถหาได้ในกรณีที่อนุกรมทั้งสองลู่ออก สำหรับ Σan = Σbn = Σ (−1) n เมื่อหาผลคูณตามนิยามจะได้






ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลบวก 1 − 2 + 3 − 4 + … = 1⁄4 และผลบวกของอนุกรมแกรนดี 1 − 1 + 1 − 1 + … = 1⁄2




ในทางผลบวกเซซาโรถือว่า 1 - 1 + 1 - 1 + … เป็นอนุกรมที่อ่อนที่สุด เรียกว่า (C, 1) ในขณะที่ 1 − 2 + 3 − 4 + … เป็นอนุกรมที่เข้มขึ้น เรียกว่า (C, 2) [4]






วิธีอื่น ๆ
มีหลายวิธีในการนิยามผลบวกของอนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … เช่น



[แก้] เซซาโรและโฮลเดอร์



กราฟแสดงผลบวก (H, 2)ผลบวกเซซาโร (C, 1) ของ 1 − 2 + 3 − 4 + … สามารถหาได้โดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของผลบวกจำกัดพจน์ ได้แก่



1, −1, 2, −2, 3, −3, …

ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตคือ



1, 0, 2⁄3, 0, 3⁄5, 0, 4⁄7, …

ลำดับดังกล่าวเป็นลำดับลู่ออก ดังนั้นจึงไม่สามารถหาผลบวกเซซาโรของ 1 − 2 + 3 − 4 + … ได้



อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2425 อ็อตโต โฮลเดอร์ ได้การหารูปแบบที่ง่ายขึ้นของผลบวกเซซาโรที่เรียกว่า (H, n) เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก โดย (H, 1) หมายถึงเซซาโร และค่าที่สูงขึ้นสามารถหาได้โดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของลำดับก่อนหน้าไปเรื่อย ๆ เช่น ค่าเฉลี่ยของผลบวกจำกัดพจน์ของอนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … พจน์คี่ทุกพจน์เป็นศูนย์ ในขณะที่พจน์คู่มีค่าลู่เข้าสู่ 1⁄2 ดังนั้นค่าเฉลี่ยจึงลู่เข้าสู่ค่าเฉลี่ยของ 0 และ 1⁄2 คือ 1⁄4[5]







จากรายงานใน พ.ศ. 2292 เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ ได้ยอมรับว่าอนุกรมดังกล่าวเป็นอนุกรมลู่ออก แต่ต้องการที่จะหาผลบวกให้ได้ ดังนี้[6]




สำหรับจำนวนจริง x ที่มีค่าสัมบูรณ์ น้อยกว่า 1 จะได้ว่า






จากรายงานใน พ.ศ. 2292 เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ ได้ยอมรับว่าอนุกรมดังกล่าวเป็นอนุกรมลู่ออก แต่ต้องการที่จะหาผลบวกให้ได้ ดังนี้[6]




สำหรับจำนวนจริง x ที่มีค่าสัมบูรณ์ น้อยกว่า 1 จะได้ว่า





ออยเลอร์และโบเรล




แผนภาพแสดงผลบวกออยเลอร์ออยเลอร์ได้ใช้เทคนิคอื่นในการหาผลบวกของอนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … โดยเริ่มจากจำนวนเต็มบวกในลำดับที่ใส่เครื่องหมายบวกและเครื่องหมายลบสลับกันคือ 1, 2, 3, 4, … เรียกพจน์แรกของลำดับนี้ว่า a0 จากนั้นสร้างลำดับของผลต่างของพจน์ถัดกันในลำดับนี้ จะได้ลำดับ 1, 1, 1, 1, … และเรียกพจน์แรกของลำดับนี้ว่า Δa0 สำหรับลำดับที่เกิดจากการหาผลต่างของพจน์ถัดกันของลำดับนี้ไปเรื่อย ๆ จะเป็นศูนย์ทั้งหมด ผลบวกออยเลอร์ของ 1 − 2 + 3 − 4 + … นิยามโดย





ผลบวกออยเลอร์ยังนำไปสู่การหาผลบวกของอนุกรมในวิธีอื่น โดยการเขียนอนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … อยู่ในรูปซึ่งมีความสัมพันธ์กับสูตร


ทำให้ได้ผลบวกที่เรียกว่าผลบวกโบเรล ดังนี้[8]





ไซเชฟและวอยซีนสกี


ไซเชฟและวอยซีนสกีได้แสดงว่า 1 − 2 + 3 − 4 + … = 1⁄4 โดยใช้หลักการทางฟิสิกส์ที่กล่าวว่า



ถ้า φ (x) เป็นฟังก์ชันที่อนุพันธ์ลำดับที่หนึ่งและลำดับที่สองสามารถหาค่าได้และต่อเนื่องในช่วง (0, ∞) โดยที่ φ (0) = 1 และลิมิตของ φ (x) และ xφ (x) เข้าสู่ +∞ เป็นศูนย์ แล้ว[9]



โดยให้ φ (x) = exp (−x) ทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นรูปทั่วไปของผลบวกอาเบล




[แก้] รูปทั่วไป

ผลคูณโคชีชั้นที่สามของ 1 - 1 + 1 - 1 + … คือ 1 - 3 + 6 - 10 + … ซึ่งเป็นอนุกรมสลับของจำนวนสามเหลี่ยม โดยมีผลบวกอาเบลและผลบวกออยเลอร์เป็น 1⁄8[10] ผลคูณโคชีชั้นที่สี่ของ 1 + 1 - 1 + 1 - … คือ 1 - 4 + 10 - 20 + … ซึ่งเป็นอนุกรมสลับของจำนวนเตตระฮีดรอน โดยมีผลรวมอาเบลเป็น 1⁄16



รูปแบบทั่วไปอีกรูปแบบหนึ่งของอนุกรม 1 − 2 + 3 − 4 + … คือ 1 − 2n + 3n − 4n + … สำหรับจำนวนเต็มบวก n ซึ่งมีผลรวมอาเบลเป็น[11]


เมื่อ Bn เป็นจำนวนแบร์นูลลี สำหรับ n ที่เป็นจำนวนคู่ ผลบวกจะสามารถลดรูปได้เป็น






ซึ่งค้นพบโดย นีลส์ เฮนริก อาเบล ในปี พ.ศ. 2469




ในปี พ.ศ. 2426 เซซาโรได้พยายามหาสูตรในการหาลิมิตของรูปทั่วไปแต่ได้พบข้อผิดพลาดในงานของเขา อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่ใช้ก็เป็นแนวคิดที่มีประโยชน์ ในที่สุด เมื่อ พ.ศ. 2433 เซซาโรได้หาลิมิตของอนุกรมได้ และได้ตีพิมพ์ลงใน Sur la multiplication des séries[12]



การศึกษาอนุกรมดังกล่าวได้ศึกษาถึงค่า n ที่ไม่เป็นจำนวนเต็มด้วย ซึ่งนำไปสู่ฟังก์ชันอีตาของดิริชเลต์และฟังก์ชันซีตาของรีมันน์ ออยเลอร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับฟังก์ชันเหล่านี้และหาค่าของฟังก์ชันสำหรับจำนวนคู่ และได้พยายามที่จะหาค่าของฟังก์ชันสำหรับจำนวนคี่ แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถหาได้จนถึงปัจจุบัน



[แก้] อ้างอิง

^ Hardy, p.8

^ Beals, p.23

^ Hardy, p.6

^ Hardy, p.3; Weidlich, pp.52–55

^ Hardy, p.9 สำหรับการคำนวณอย่างละเอียด, ดู Weidlich, pp.17–18.

^ Euler et al, p.2 ผลงานได้เขียนขึ้นใน พ.ศ. 2292 แต่ได้ตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2311

^ Euler et al, pp.3, 25

^ Weidlich p. 59

^ Saichev and Woyczyński, pp.260–264

^ Kline, p.313.

^ Knopp, p.491

^ Ferraro, pp.120–128

Beals, Richard (2004). Analysis: an introduction. Cambridge UP. ISBN 0-521-60047-2.

Davis, Harry F. (May 1989). Fourier Series and Orthogonal Functions. Dover. ISBN 0-486-65973-9.

Euler, Leonhard; Lucas Willis; and Thomas J Osler (2006). Translation with notes of Euler's paper: Remarks on a beautiful relation between direct as well as reciprocal power series. The Euler Archive. สืบค้นวันที่ 2007-03-22 Originally published as Euler, Leonhard (1768). "Remarques sur un beau rapport entre les séries des puissances tant directes que réciproques". Memoires de l'academie des sciences de Berlin 17: 83–106

Ferraro, Giovanni (June 1999). "The First Modern Definition of the Sum of a Divergent Series: An Aspect of the Rise of 20th Century Mathematics". Archive for History of Exact Sciences 54 (2): 101–135. doi:10.1007/s004070050036

Grattan-Guinness, Ivor (1970). The development of the foundations of mathematical analysis from Euler to Riemann. MIT Press. ISBN 0-262-07034-0.

Hardy, G.H. (1949). Divergent Series. Clarendon Press.

Kline, Morris (November 1983). "Euler and Infinite Series". Mathematics Magazine 56 (5): 307–314

Lavine, Shaughan (1994). Understanding the Infinite. Harvard UP. ISBN 0674920961.

Markushevich, A.I. (1967). Series: fundamental concepts with historical exposition (English translation of 3rd revised edition (1961) in Russian ed.). Hindustan Pub. Corp..

Saichev, A.I., and W.A. Woyczyński (1996). Distributions in the physical and engineering sciences, Volume 1. Birkhaüser. ISBN 0-8176-3924-1.

Tucciarone, John (January 1973). "The development of the theory of summable divergent series from 1880 to 1925". Archive for History of Exact Sciences 10 (1-2): 1–40. doi:10.1007/BF00343405

Vretblad, Anders (2003). Fourier Analysis and Its Applications. Springer. ISBN 0387008365.

Weidlich, John E. (June 1950). Summability methods for divergent series. Stanford M.S. theses.




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องน่ารู้ต่างๆ